EN 0939474254 , CN 0871772727 , 0924182854
@csslawoffice csslawoffice8
ความผิดตามกฎหมายหลักทรัพย์และลาดหลักทรัพย์ที่สำคัญและเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ คือ "การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์" ซึ่งเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจประเภทหนึ่งโดยกฎหมายกำหนดความผิดในลักษณะดังกล่าวไว้ในมาตรา ๒๓๘ - ๒๔๔ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.๒๕๓๕ โดยสามารถจำแนกลักษณะการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ ๓ ลักษณะดังนี้
การแพร่ข่าวที่จะมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ตามมาตรา ๒๓๘ - ๒๔๐ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.๒๕๓๕ .สามารถจำแนกได้ ๓ ประเภท ได้แก่ มาตรา ๒๓๘ เป็นเรื่องการบอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จ หมายถึงการบอกกล่าวข้อความที่ไม่มีมูลความจริงให้เป็นที่ทราบแก่ผู้อื่น และเป็นการบอกกล่าวข้อความใดโดยเจตนาพิเศษให้ผู้อื่นสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน หรือราคาซื้อขายหลักทรัพย์มาตรา ๒๓๙ เป็นเรื่องการแพร่ข่าวเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใดๆ อันอาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าหลักทรัพย์ใดจะมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง แต่การกระทำจะไม่เป็นความผิดก็ต่อเมื่อเป็นการแพร่ข่าวเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ได้แจ้งไว้กับตลาดหลักทรัพย์แล้ว มาตรา ๒๔. เป็นการแพร่ข่าวอันเป็นความเท็จให้เลื่องลือจนอาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าหลักทรัพย์ใดจะมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง การแพร่ข่าวในมาตรานี้จะต้องเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงและแพร่หลายจนเป็นที่เลื่องลือในหมู่ผู้ลงทุนทั่วไป ซึ่งข่าวอันเป็นเท็จนั้นจะเป็นข่าวเรื่องใดๆ ก็ได้ผู้กระทำกรณีความผิดตามมาตรา ๒๓๘ และ ๒๓๙ จะต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์ , ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินกิจการของบริษัทหลักทรัพย์ ,
ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และผู้มีส่วนได้เสียในหลักทรัพย์ รวมทั้งสิ้น ๔ ประเภท ส่วนกรณีความผิดตามมาตรา ๒๔๐ นั้นผู้กระทำอาจเป็นบุคคลใดๆ ก็ได้ นักลงทุนทั่วไปต้องตระหนักในการกระทำในส่วนนี้
ตัวอย่าง
บริษัท ก เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และเป็นบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ได้ว่าจ้างบริษัท ข ทำการประเมินมูลคำองค์กรของบริษัท ก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวัดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่แท้จริงขององค์กร และบริษัท ก ได้นำข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่ผ่านทางสื่อหนังสือพิมพ์และอินเตอร์เน็ท จากสาระสำคัญของข่าวที่ออกเผยแพร่ทำให้บุคคลอื่นๆ เข้าใจว่าราคาหลักทรัพย์ของบริษัท ก จะมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากมีการประเมินมูลค่าองค์กรว่ามีศักยภาพสูง มีราคาหุ้นที่เหมาะสม โดยบริษัท ก ไม่ได้ทำการแจ้งข่าวดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ และขณะนั้นไม่มีข่าวสารหรือสารสนเทศอื่นใดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหลักทรัพย์บริษัท ก การแพร่ข่าวดังกล่าวจึงเป็นผลทำให้ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีผลทำให้นักลงทุนเข้ามาทำการซื้อขายหลักทรัพย์บริษัท ก เป็นจำนวนมาก การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา ๒๓๙พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.๒๕๓๕
ตัวอย่าง
นาย ค ได้ทำการเผยแพร่ข้อมูลว่าจะมีบริษัทต่างชาตินำเงินมาลงทุนร่วมกับบริษัท A ซึ่งเป็นบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งไม่เป็นความจริง อันอาจจะมีผลทำให้หุ้นของบริษัท A มีราคาสูงขึ้น เพื่อให้นักลงทุนสนใจซื้อขายเพิ่มขึ้น การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา ๒๔0 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.๒๕๓๕ (๒) การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน ตามมาตรา ๒๔๑ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๒๔๑ เป็นการห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ในประการแรก "บุคคลภายใน" ได้แก่
๑. กรรมการ ผู้จัดการ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
๒. ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าวที่ถือหลักทรัพย์เกินร้อยละ ๕ ของทุนจดทะเบียน โดยให้นับรวมถึงหลักทรัพย์ของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
๓. เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ หรือกรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงานของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ในตำแหน่งหรือฐานะที่จะล่วงรู้ข้อมูลภายใน
๔. ผู้ใดซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และหรือการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
๕. บุคคลอื่นๆ ที่อยู่ในตำแหน่งหรือฐานะที่จะทำให้ล่วงรู้ข้อมูลภายในส่วน "ข้อมูลภายใน" หมายถึง ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อประชาชน และบุคคลภายในดังกล่าวได้ล่วงรู้มาและอาศัยประโยชน์จากข้อมูล
ดังกล่าวนั้น"การกระทำที่ต้องห้าม" ได้แก่
๑. การซื้อหรือการขาย การเสนอซื้อหรือเสนอขาย หรือการชักชวนให้บุคคลอื่นซื้อหรือขายหรือเสนอซื้อหรือเสนอขายหลักรัพย์ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม และไม่ว่าจะกระทำเพื่อตนเองหรือผู้อื่น ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอกโดยใช้ข้อมูลภายในที่ตนได้ล่วงรู้มา หรือ
6. การนำข้อมูลภายในออกเปิดเผยเพื่อให้ผู้อื่นกระทำการที่ต้องห้ามดังกล่าวโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนการกระทำในลักษณะนี้เป็นกรณีที่บุคคลใดแสวงหาประโยชน์จากการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยอาศัยข้อมูลภายในที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อประชาชน ซึ่งเมื่อเปิดเผยแล้วราคาหลักทรัพย์จะเปลี่ยนไปในสาระสำคัญ กฎหมายจึงกำหนดเป็นความผิดเนื่องจากเป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุนอื่นๆ
ตัวอย่าง
นาย A เป็นที่ปรึกษาการตลาดของบริษัท B ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ หน้าที่ของนาย A ในฐานะที่ปรึกษาการตลาด จะทราบข้อมูลปริมาณงานที่บริษัทได้รับเนื่องจากนาย A มีหน้าที่เป็นผู้ติดต่อหาลูกค้าทั้งลูกค้าในประเทศและลูกค้าต่างประเทศ ในปีหนึ่งบริษัท B มีผลประกอบการขาดทุนเนื่องจากมีงานลดลง อันจะส่งผลต่องบการเงินที่จะต้องเปิดเผยต่อประชาชน ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่าราคาหุ้นย่อมตกลง นาย A ในฐานะที่ตนเป็นที่ปรึกษาการตลาดของบริษัท B จึงได้ทำการขายหุ้นบริษัทB ซึ่งตนถืออยู่ก่อนที่งบการเงินของบริษัท B จะเปิดเผยต่อประชาชน ในขณะนั้นราคาหุ้นอยู่ที่ ๒.๒๐ บาทหลังจากเปิดเผยงบการเงินแล้ว หุ้นบริษัท B ตกลงมาเหลือ ๑.๕0 บาท เช่นนี้นาย A ถือเป็นบุคคลภายใน และได้อาศัยข้อมูลภายในที่ตนได้ล่วงรู้มาแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบ เข้าข่ายเป็นความผิดฐานซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน ตามมาตรา ๒๔๑ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.๒๕๓๕ (๓) การสร้างราคาหลักทรัพย์ หรือการปั่นหุ้น ตามมาตรา ๒๔๓ และมาตรา ๒๔๔ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.๒๕๓๕ การกระทำที่เป็นการสร้างราคาหลักทรัพย์ ได้แก่
๑. การซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยรู้เห็น หรือตกลงกับบุคคลอื่นอันเป็นการอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าขณะใดขณะหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหลักทรัพย์นั้นได้มีการซื้อหรือขายกันมากหรือราคาหลักทรัพย์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไป หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลง อันไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาดโดยรวมถึงการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ซึ่งในที่สุดผู้รับประโยชน์จากการซื้อและขายหลักทรัพย์ยังเป็นบุคคลเดียวกัน หรือการซื้อขายหลักทรัพย์แบบจับคู่ ถือเป็นการซื้อหรือขายหลักทรัพย์อันเป็นการอำพรางที่ทำให้สภาพตลาดผิดไปจากปกติ ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นของการสร้างราคาหลักทรัพย์
การซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยตนเองหรือร่วมกับผู้อื่นในลักษณะต่อเนื่องกัน เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้น อันเป็นผลทำให้การซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาดสาระสำคัญของความผิดฐานสร้างราคาหลักทรัพย์นี้ กฎหมายถือเอา "ผลของการกระทำ"เป็นสาระสำคัญ กล่าวคือ
(๑) ทำให้มีการรักษาระดับ ทำให้สูงขึ้นหรือลดลง หรือทำให้เกิดความผันผวนของราคาหลักทรัพย์
(๒) ทำให้เกิดราคาที่ไม่แท้จริงหรือทำให้เป็นการรักษาระดับราคาที่ไม่แท้จริงของหลักทรัพย์
(๓) ทำให้เกิดภาพลวงหรือภาพที่อาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดเกี่ยวกับสภาพการซื้อขายอย่างหนาแน่นหรือเกี่ยวกับสภาพตลาดหรือราคาที่ซื้อขายกันของหลักทรัพย์
(๔) การบิดเบือนสภาพตลาดของหลักทรัพย์
(๕) การทำให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์มากหรือราคาของหลักทรัพย์ได้เปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงอันไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาดสาระสำคัญของความผิดมาตรานี้คือ ผู้กระทำจะเป็นบุคคลใดๆ ก็ได้
ตัวอย่าง
นาง ก ได้ขอยืมใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนาง ข และนาง ค ที่เปีดไว้กับบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง โดยการชำระค่าซื้อและขายหลักทรัพย์ใช้วิธีหักโอนผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ซึ่งนาง ก เป็นเจ้าของเงินที่ใช้ในการซื้อขาย นาง ก ได้ขอให้เจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแลบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งสองทำการซื้อหรือขายหุ้น A โดยเป็นการสลับกันซื้อขายเป็นคู่1 ระหว่างบัญชีทั้งสอง ในลักษณะผลักดันราคาและแตกคำสั่งซื้อขายทำให้เห็นว่าหุ้น A มีความน่าสนใจเพื่อชักจูงนักลงทุนทั่วไปให้เข้ามาซื้อขาย เมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ก็ขายออกทำกำไร โดยในช่วงดังกล่าวไม่ปรากฏสารสนเทศในเชิงบวกรองรับการเปลี่ยนแปลงของหุ้น A แต่อย่างใดหลังจากนั้นราคาหุ้น A ก็จะปรับสู่ภาวะตามปกติของกลไกตลาด เมื่อมีการส่งคำสั่งซื้อหรือขายหุ้น A แล้วก็จะแจ้งให้นาง ข และนาง ค ทราบ โดยขอให้บุคคลทั้งสองตอบรับยืนยันการซื้อขาย เมื่อได้เงินจากการซื้อขายนาง ก ได้นำใบถอนเงินและใบมอบอำนาจที่ได้ขอให้นาง ข และนาง ค ลงนามไว้ล่วงหน้า ไปเบิกถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารพาณิชย์ ลักษณะดังกล่าวจึงเป็นการซื้อหรือขายหลักทรัพย์อันเป็นการอำพรางที่ทำให้สภาพตลาดผิดไปจากปกติ เข้าข่ายเป็นความผิดฐานสร้างราคาหลักทรัพย์หรือปั่นหุ้น ส่วนเจ้าหน้าที่การตลาดที่เป็นผู้ส่งคำสั่งซื้อขาย หากพิสูจน์ได้ว่ารู้ถึงเจตนาของนาง ก ก็จะเข้าข่ายเป็นผู้ช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุนในการกระทำของนาง ก ด้วยสำหรับบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ ปรากฎตามมาตรา ๒๙๖ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.๒๕๓๕ โดยต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี หรือปรับเป็นเงินไม่เกิน 6 เท่าของผลประโยชน์ที่บุคคลนั้นๆ ได้รับไว้หรือพึงจะได้รับเพราะการกระทำฝ่าฝืนดังกล่าว แต่ทั้งนี้ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าห้าแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ ยังเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งผู้กระทำอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายดังกล่าวด้วย
ที่อยู่ : เลขที่ 136/1 ถนนกำแพงดิน, ตำบลช้างคลาน, อำเภอเมืองเชียงใหม่, จังหวัดเชียงใหม่ 50100
เบอร์โทร : EN 0939474254 , CN 0871772727 , 0924182854
ไลน์ : @csslawoffice
Wechat : csslawoffice8
Facebook : Chiangmai Lawyer Css Law Office
Copyright © 2023, Csslawoffice. All rights reserved